วิธีการตรวจสอบส่วนผสมในผลิตภัณฑ์เสริมความงามและผลิตภัณฑ์บำรุงผิว

ตรวจผลิตภัณฑ์ความงาม

Table of Contents

วิธีการตรวจสอบส่วนผสมในผลิตภัณฑ์เสริมความงามและผลิตภัณฑ์บำรุงผิว

วันนี้เรามาดูวิธีการตีความบนฉลากผลิตภัณฑ์ด้วยเคล็ดลับเหล่านี้กันค่ะ

เมื่อไม่นานมานี้ เราได้แนะนำวิธีการวัดประสิทธิภาพของครีมกันแดดกันไปแล้ว วันนี้เราจะมาบอกเคล็ดลับที่มีคนถามเข้ามาเยอะมาก นั้นก็คือ วิธีการประเมินความปลอดภัยในผลิตภัณฑ์เสริมความงามและผลิตภัณฑ์บำรุงผิวทั่วไป

อย่างที่เราทราบกันดีอยู่แล้วว่า เมื่อพูดถึงส่วนผสม มันเป็นอะไรที่ฟังแล้วค่อนข้างจะยุ่งยากซับซ้อนไปหมด เวลาที่คุณแกะผลิตภัณฑ์ออกมาจากแพคเกจที่สวยงามเหล่านั้นแล้ว รวมถึงไม่มีการอ้างอิงถึงหลักวิทยาศาสตร์ใด ๆ ไม่มีแคมเปญโฆษณามูลค่าล้านดอลล่า สิ่งที่คุณแกะออกมานั่นแหละ คือสิ่งที่คุณกำลังซื้อจริง ๆ  นั่นจึงเป็นสาเหตุที่สำคัญว่า ทำไมผู้บริโภคจึงต้องควรมีความรอบรู้และควรระมัดระวังในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ชนิดต่าง ๆมาทาบนผิวหนัง

ในเรื่องของความปลอดภัย เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญ แต่ส่วนผสมต่าง ๆ ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่สำคัญที่จะช่วยเสริมให้ผิวมีสุขภาพดีได้อย่างแท้จริง โดย RMS Beauty ผู้ก่อตั้งแบรนด์ Rose-Marie Swift ได้บอกกับแบรนด์ Vancouver Sun ว่า “คุณต้องจำไว้ว่า พวกบริษัทเครื่องสำอางเหล่านั้น ได้สร้างเรื่องโกหกขึ้นมา เพื่อหุ้นส่วนต่าง ๆ ของพวกเขา พวกเขาไม่ได้อยากจะทำให้ผิวของผู้หญิงดูสวยขึ้นมาจริง ๆ”

อย่างไรก็ตาม เราว่ารู้ว่ามันยากที่ต้องมาตีความคำศัพท์ทางเทคนิคบนฉลากผลิตภัณฑ์ ดังนั้น ให้เราแนะนำคุณเกี่ยวกับขั้นตอนสำหรับการ ตรวจผลิตภัณฑ์ความงาม ครีม เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวต่าง ๆ ก่อนที่คุณจะซื้อหรือใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านั้นกันเถอะ เรามาดูคำแนะนำทีละขั้นตอนกันเลยนะคะ


วิธีเช็คผลิตภัณฑ์ความงาม

ขั้นตอนที่1: แยกใช้ผลิตภัณฑ์ให้ถูกประเภท

เอาล่ะค่ะ ก่อนที่คุณจะใช้เวลาไปกับการตีความบนฉลาก คุณอาจจะต้องรู้ก่อนว่า ผลิตภัณฑ์นั่นนำมาใช้ในส่วนไหน โดยในความคิดเห็นของเราก็คือ

  • ผลิตภัณฑ์ที่เราใช้กันในปริมาณเล็ก ๆ น้อย ๆ นั่นเราไม่ต้องไปกังวลในส่วนนี้มากนัก อย่างเช่น จำพวก อายไลเนอร์ เจลคิ้ว มาสคาร่า หรือ แม้แต่ลิปสติก
  • ผลิตภัณฑ์ที่เราใช้ในการล้างออก ก็จะเป็นจำพวก น้ำยาทำความสะอาด หรือ สครับ ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ต้องมีความสามารถในการชำระล้างโดยไม่ทิ้งสารตกค้าง (ยกเว้นว่า อาจจะมีสารตกค้าง ถ้ามีส่วนผสมของซัลเฟต)
  • ผลิตภัณฑ์ที่เราใช้บนผิวหนังตามร่างกาย ก็จะเป็นจำพวก โลชั่น น้ำมัน ผลิตภัณฑ์เหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่จะต้องมีส่วนผสมที่บริสุทธิ์ เนื่องจากพวกมันใช้ในพื้นที่ผิวขนาดใหญ่ จึงมีแนวโน้มในการใช้และดูดซับผลิตภัณฑ์เข้าสู่ร่างกายเป็นจำนวนมาก
  • เราให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์บนผิวหน้าเป็นอย่างมาก เนื่องจาก ใบหน้าเป็นพื้นที่ที่มีผิวบอบบางและได้รับรังสี UV มากที่สุด ซึ่งไม่ได้เจาะจงแค่ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว แต่ยังรวมไปถึง รองพื้น คอนซีลเลอร์ใต้ตา แป้ง และอื่น ๆอีกมากมาย

วิธีการตรวจ ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว

ขั้นตอนที่ 2: อย่าสนใจการตลาด

เคล็ดลับอย่างที่สองของเราก็คือ ไม่สนใจโฆษณาชวนเชื่อหรือโฆษณาใด ๆ ก็ตามที่ได้บอกไว้บนกล่องผลิตภัณฑ์ แต่น่าเสียดาย ที่นักการตลาดด้านความงามมักจะใช้ทุกกลวิธีแบบในหนังสือ อย่างเช่น

  • ความทันสมัย: เพียงแค่เป็นแบรนด์ที่มีความทันสมัย(เช่น Glossier) หรือเป็นที่ชื่นชอบตามกระแส(เช่น Embryolisse) นั่นไม่ได้หมายความว่าแบรนด์เหล่านี้จะมีส่วนผสมที่ผิวของคุณต้องการ
  • ธรรมชาติและอินทรีย์: แน่นอนว่า เราชอบใช้ผลิตภัณฑ์ที่มาจากธรรมชาติกันอยู่แล้ว แต่จำไว้ว่า คำว่า “ธรรมชาติ” และ “อินทรีย์” ไม่ได้มีการถูกควบคุมส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ และอาจมีการอ้างถึงแค่ส่วนผสมเดียวเท่านั้นที่มาจากธรรมชาติ นอกจากนี้ ส่วนผสมที่ได้จากพืชบางชนิดก็ไม้ได้มีประโยชน์จริง ๆ
  • ค่า SPF: เรามักจะมีการเข้าใจเกี่ยวกับ ค่า SPF โดยไม่ถูกต้องมาตลอด ขออธิบายต่อไปอีกว่า กระบวนการการจัดค่า SPF ของแบรนด์ต่าง ๆนั้นก็ไม่ได้มีมาตรฐานที่ดีมากนักและมีวิธีการทดสอบหลายวิธีที่จะสามารถใช้กลวิธีต่าง ๆ เพื่อทำให้ได้ค่าตัวเลขที่สูงขึ้น(ยกตัวอย่างเช่น การใส่ยาแก้อักเสบ) นั่นจึงเป็นเหตุผลที่เราจะแนะนำว่า ให้มองหาค่าเปอร์เซ็นต์ที่แน่นอของสารออกฤทธิ์จะดีกว่า
  • “ปราศจาก จาก…” อีกหนึ่งกลยุทธิ์ที่ยอดนิยมเลย ก็คือ การพูดในสิ่งที่ผลิตภัณฑ์ไม่ได้มีอยู่แล้ว คุณไม่ต้องสงสัยเลยหากเห็นประโยค เช่น “ปราศจากพาราเบน” หรือ “ปราศจากซัลเฟต” นั่นก็เป็นสิ่งที่ดีที่ปราศจากสารเหล่านี้ แต่จริง ๆ แล้วมันก็ไม่ได้มีส่วนช่วยอะไรในผลิตภัณฑ์เลย
  • รายการสรรพคุณ: ในคอลัมน์หนึ่งบนฉลากจะมีการบอกสรรพคุณต่าง ๆ เพื่อบอกว่าผลิตภัณฑ์ของพวกเขามีอะไรดี แต่อย่าปล่อยให้ข้อความเหล่านั้นทำให้คุณคล้อยตามจนลืมตรวจสอบรายการส่วนผสมอย่างละเอียด นอกจากนี้ สิ่งที่เลวร้ายที่สุดก็คือ เมื่อแบรนด์พยายามที่จะสร้างภาพลักษณ์ให้คุณเริ่มมีการประทับใจในผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ โดยลึกๆแล้ว คุณก็ยังคงรู้ว่า มันยังมีส่วนผสมที่ไม่ค่อยดีนักสอดแทรกอยู่
  • แสดงแค่ตัวยาสำคัญเท่านั้น: ผลิตภัณฑ์ทุกชนิดต้องมีการระบุส่วนผสมที่แท้จริงทั้งหมดไว้บนฉลากผลิตภัณฑ์จริงเท่านั้น ซึ่งเราอาจจะเคยเห็นว่าบางผลิตภัณฑ์เปิดเผยแค่ส่วนผสมบางอย่างที่ฟังแล้วดูดีหรือแค่ส่วนผสมที่ออกฤทธิ์เป็นหลักเท่านั้น โดยเราพบทั้งในเว็บไซต์ของผู้ผลิตและเว็บไซต์ของผู้ค้าปลีก ที่มีการละเว้นส่วนผสมที่เหลือไว้ หากดูแล้วว่ารายการส่วนผสมนั้นดูสั้นมากเกินไป ก็มีสิทธิ์ที่พวกเขาอาจจะปิดบังบางอย่างกับคุณ อีกกรณีหนึ่งก็คือ บางยี่ห้อ มีการทำให้รายการส่วนผสมนั้นไม่สามารถเห็นได้ง่ายๆ อย่างเช่น มีการนำสติ๊กเกอร์มาแปะเพื่อปิดบังส่วนผสมไว้(The Body Shop เป็นร้านที่แย่ที่สุด)
  • ผ่านการทดสอบโดยแพทย์ผิวหนัง: สมัยนี้การได้รับการรับรองจากแพทย์ผิวหนังค่อนข้างที่จะไร้ความหมาย เนื่องจาก ยังไม่มีคำจำกัดความของมาตรฐานอุตสาหกรรมของสิ่งที่เกี่ยวข้อง เช่นเดียวกันกับคำว่า “การพิสูจน์ทางการแพทย์” เพราะแม้แต่ครีมบำรุงผิวธรรมดาที่อ่อนโยน ก็สามารถพิสูจน์ได้ว่า ทำให้ริ้วรอยดีขึ้น
  • อ้างถึงสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้อง: อย่างที่เราได้เคยบอกไว้ในอินสตาแกรมแล้วว่า มีอยู่เรื่องหนึ่งที่มันค่อนข้างจะกวนใจเราเป็นอย่างมาก นั้นก็คือ เมื่อแบรนด์ได้พูดถึงสรรพคุณมาตรฐานทั่วไปสำหรับผลิตภัณฑ์ในประเภทนั้น ๆ โดยจะใช้กลอุบายต่าง ๆ ซึ่งกลอุบายเหล่านี้มักจะเกิดขึ้นในผลิตภัณฑ์ของบริษัท อย่างเช่น แชมพูและครีมนวดผม โดยอาจระบุข้อความว่า : แชมพู “ปราศจากซิลิโคน” และครีมนวดผม “ปราศจากซัลเฟต” (แชมพูมักจะไม่มีซิลิโคนและครีมนวดผมไม่มีซัลเฟต)

ดังนั้น แทนที่จะมัวแต่พูดเกี่ยวกับสรรพคุณต่าง ๆที่อ้างมา เราขอแนะนำว่า ให้คุณตรงไปที่รายการส่วนผสมบนด้านหลังผลิตภัณฑ์ เพื่อดูสิ่งที่อยู่ในนั้นจริง ๆ ถึงแม้ว่าเราจะรักในแบรนด์นั้นแค่นั้น แต่เราต้องไม่เชื่ออย่างสุ่มสี่สุ่มห้านะคะ โดยส่วนตัวแล้ว ทางเราจะตรวจสอบทุก ๆผลิตภัณฑ์เป็นกรณีๆไป


วิธีตรวจส่วนผสม ครีมบำรุงผิว ไม่อันตราย

ขั้นตอนที่3: ดูส่วนผสม 5 อันดับแรก

สิ่งต่อไปที่คุณต้องทำคือ ดูในส่วนของ รายการส่วนผสม 5 อันดับแรก โดยปกติแล้ว แบรนด์ต่าง ๆมักจะเปิดเผยส่วนผสมโดยการเรียงลำดับจากความเข้มข้นมากที่สุดไปยังความเข้มข้นน้อยที่สุด

ตามหลักทั่วไปแล้ว ส่วนผสม 5 อันดับแรก คือส่วนผสมที่ใส่ลงไปมากที่สุด(ประมาณ 80%)ในผลิตภัณฑ์ ด้วยเหตุนี้ ส่วนผสมเหล่านั้นจึงเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดที่ต้องตรวจสอบ โดยปกติแล้ว ทางเรา มักจะดูส่วนผสม 5 ถึง 10 อย่างแรกก่อนเพื่อความปลอดภัย และมีบางส่วนผสม เช่น น้ำหอมสังเคราะห์ เราไม่ต้องการเห็นส่วนผสมนี้อยู่ในสูตรของผลิตภัณฑ์เลย


เว็บไซต์ตรวจ ความปลอดภัย ผลิตภัณฑ์ความงาม

ขั้นตอนที่ 4: ตรวจสอบส่วนผสมในเว็บไซต์

เอาล่ะ! ตอนนี้คุณก็ได้ดูส่วนผสม 5 อันดับแรกไปแล้ว แต่ปัญหาก็คือ คุณอาจจะไม่สามารถระบุได้ว่าส่วนผสมเหล่านี้คือออะไร เนื่องจากบางส่วนผสมจะต้องมีการระบุชื่อไว้ใน INCI (International Nomenclature of Cosmetic Ingredients)

INCI คือ ระบบมาตรฐานของชื่อที่เป็นคำศัพท์ทางวิทยาศาสตร์ในภาษาละตินและอังกฤษ เพราะเหตุนี้คุณจึงเห็นคำว่า “Aqua” แทน “Water” หรือ “Tocopherol” แทน “Vitamin E” นอกจากนี้ แบรนด์อย่าง Paula’s Choice ได้ช่วยอธิบายแต่ละสิ่งที่อยู่ในวงเล็บเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น เนื่องจากสิ่งต่าง ๆสามารถทำให้เกิดความสับสนได้ง่าย และยังโชคดี ที่มีเว็บไซต์ดี ๆอยู่ไม่กี่แห่งที่จะช่วยให้คุณสามารุค้นหาได้ หากคุณไม่รู้ว่าส่วนผสมบางอย่างคืออะไร โดยมีดังนี้

EWG Skin Deep Database (https://www.ewg.org/skindeep/)

CosDNA (www.cosdna.com/eng/stuff.php)

Paula’s Choice Cosmetic Ingredient Dictionary (https://www.paulaschoice.com/)

Cosmetic Ingredients cosmetic-ingredients

ซึ่งทางเราได้ใช้เว็บไซต์เหล่านี้ในขั้นตอนแรกของการวิจัย เพื่อที่จะสามารถระบุได้ว่า ส่วนผสมเหล่านี้คืออะไร และทำไมมันถึงอยู่ในสูตร แต่ทางเราก็ไม่ได้ใช้เว็บไซต์เหล่านี้โดย 100 เปอร์เซ็นต์ เพราะเรามีความคิดที่แตกต่างนิดหน่อยในเรื่องของความปลอดภัยและส่วนผสมที่เป็นสาเหตุของการเกิดสิว


ตรวจส่วนผสม ครีมบำรุงผิว อันตราย

ขั้นตอนที่5: สแกนหาส่วนผสมที่ควรเลี่ยง

เราควรจะมองหาอะไรต่อไปดีล่ะ? แม้ว่ารายการส่วนผสมต่อไปนี้ จะไม่ใช่รายการที่ครบถ้วนมากเท่าไหร่ แต่นี้ก็เป็นรายการส่วนผสมบางอย่างที่โดยส่วนตัวแล้ว ทางเราคิดว่ามันสำคัญที่สุด ที่ควรจะหลีกเลี่ยงหรือระมัดระวัง เพราะอาจนำไปสู่อาการแพ้เครื่องสำอางได้ ดังต่อไปนี้

      • น้ำหอมสังเคราะห์(Synthetic fragrances): สารนี้เป็นสาเหตุอันดับหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาแพ้ต่อผิวหนัง มีสารเคมีและสารพาทาเลต (เกี่ยวข้องกับการรบกวนระบบฮอร์โมน) ที่เป็นอันตรายซ่อนอยู่ เมื่อเห็นคำว่า “fragrance” หรือ “parfum” บนฉลาก โปรดระมัดระวัง ผลิตภัณฑ์ที่เขียนว่า “fragrance-free”(ปราศจากน้ำหอม)นั้น มักจะหมายความว่า พวกเค้าอาจจะเพิ่มสารเคมีอื่น ๆ โดยปิดบังไว้
      • ซัลเฟต(Sulfate): สารซักฟอกเหล่านี้พบได้ในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด มันเป็นสารที่รุนแรงมากโดยสามารถชำระล้างคราบมันออกจากผิวได้ และยังทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันอีกด้วย นอกจากนี้ สารเหล่านี้ยังสามารถทำให้ผิวแห้งกร้านและเกิดการระคายเคืองเพิ่มขึ้นได้อีกด้วย มองหาคำที่ลงท้ายด้วยคำว่า “sulfate: เช่น sodium lauryl sulfate, sodium laureth sulfate และammonium lauryl sulfate และสารอื่น ๆอีกมากมาย
      • ซิลิโคน(Silicones): สารก่อฟิล์มเหล่านี้เป็นสารที่ช่วยดักจับสิ่งสกปรกในรูขุมขนของคุณ ช่วยป้องกันส่วนผสมอื่น ๆจากการดูดซับ และ ขัดขวางกระบวนการควบคุมการทำงานของผิว เมื่อใช้อย่างต่อเนื่อง สารเหล่านี้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดสิวและนำไปสู่ผิวขาดน้ำในระยะยาว
      • น้ำมันมิเนอรัล (Mineral oil): เป็นน้ำมันก๊าซที่ช่วยในเรื่องของการดับกลิ่น นอกจากนี้ยังมีผลกระทบต่อผิว ซึ่งอาจขัดขวางการผลัดเซลล์ผิวใหม่ จึงทำให้เกิดสิวและผิวแห้งกร้าน อีกทั้ง ยังเป็นที่รู้จักกันในนาม ปิโตรลาทัม(petrolatum), ปิโตรเลียมเหลว(liquid petroleum), น้ำมันพาราฟิน(paraffin oil) หรือพาราฟินเหลว(paraffinum liquidum) อีกด้วย
      • กรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง Polyunsaturated oils (PUFAs): เป็นกรดไขมันที่มีพันธะคู่หลายอันในห่วงโซ่กรดไขมัน ซึ่งทำให้พวกมันไม่มีเสถียรภาพและทำให้ถูกโจมตีจากอนุมูลอิสระได้ง่าย โดยการสัมผัสกับออกซิเจนหรือความร้อนจะทำให้เกิดการออกซิเดชั่นอย่างรวดเร็ว แหล่งที่พบกรดนี้ได้มากที่สุด คือ ดอกทานตะวัน ดอกคำฝอย ถั่วเหลือง โรสฮิป เมล็ดองุ่นและน้ำมันงา โดยปกติแล้ว ทางเราพยายามที่จะหลีกเลี่ยงน้ำมันที่มีส่วนประกอบของ PUFA มากกว่า 10%
      • ครีมกันแดดที่ออกฤทธิ์ทางเคมี (Chemical sunscreens): เมื่อเปรียบเทียบในส่วนของสังกะสีออกไซด์ ส่วนผสมอย่าง Oxybenzone และ Octinoxate จะให้การปกป้องที่น้อยกว่า ซึ่งมีส่วนรบกวนระบบฮอร์โมน และสร้างความเสียหายให้กับเซลล์ได้
      • พาราเบน (Parabens): พวกเราน่าจะเคยได้ยินสารกันบูดที่เรียกว่าพาราเบนกันมาแล้วบ้าง แต่คุณรู้มั้ยว่า เหตุผลที่เราควรหลีกเลี่ยงมันนั้นก็เพราะว่า สารนี้ทำตัวเสมือนเป็นฮอร์โมนชื่อเอสโตรเจน ลองมองหาคำที่ลงท้ายด้วยคำว่า “-Paraben”

หมายเหตุ: โรงงานการผลิตหลายๆแห่งสมัยนี้ ได้ใช้ สารกันเสีย Phenoxyethanol แทน ซึ่งอาจจะปลอดภัยกว่าแต่ก็สามารถทำให้เกิดการระคายเคืองได้

      • กรดไฮยาลูโรนิกชนิดอนุภาคเล็ก (Low molecular weight hyaluronic acid): เรารู้ว่า กรดไฮยาลูโรนิกเป็นส่วนผสมที่น่าสนใจในตอนนี้ แต่ทางเราไม่เคยขายมันมาก่อน สิ่งที่น่าเป็นห่วงมากยิ่งขึ้น คือ เมื่อมีการนำไปแยกส่วนรูปแบบในการใช้งาน ซึ่งอาจทำให้เกิดการอักเสบและเป็นรอยแผลเป็นได้ ไม่ว่าทางบริษัท Deciem จะพูดว่าอย่างไร เราก็ควรระมัดระวังไว้ก่อน
      • Formaldehyde releasers: เป็นสารกันบูดที่ได้มาจากฟอร์มาลดีไฮด์และอาจก่อให้เกิดปฏิกิริยาการแพ้ มีส่วนทำให้ต่อมไร้ท่อหยุดการทำงาน และมันยังอาจก่อให้เกิดมะเร็ง โดยหน่วยงาน EWG (The Environmental Working Group) ได้แนะนำว่า ควรหลีกเลี่ยงสาร Formaldehyde, Quaternium-15, DMDM hydantoin, Imidazolidinyl urea, Diazolidinyl urea, Polyoxymethylene urea, Sodium hydroxymethylglycinate, Bromopol และ

ตรวจส่วนผสม ผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงผิว

ข้อควรจำการตรวจผลิตภัณฑ์ความงาม

เราอยู่ในโลกที่ไม่ได้สมบูรณ์แบบมากนัก และผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่มักจะไม่บอกข้อเสียทั้งหมดลงบนกล่อง ถ้าคุณเจอผลิตภัณฑ์ที่ดีแล้ว นั่นก็เยี่ยมเลย แต่ในบางครั้งเราก็ต้องทำอะไรที่ขัดกับหลักการทั่ว ๆไปบ้าง ค่อย ๆใจเย็น ๆกับส่วนผสมบางอย่าง บางทีคุณต้องใช้ไปจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นตามมา

ยกตัวอย่าง เช่น ผลิตภัณฑ์ Shani Darden’s Retinol Reform ประกอบไปด้วย Quaternium-15 คุณคิดว่าเราชอบให้สารชนิดนี้อยู่ในผลิตภัณฑ์ไหม? แน่นอนเลยว่า ไม่! แต่เราก็ยังคงคิดว่าผลิตภัณฑ์นี้มันเป็นหนึ่งในตัวเลือกของกลุ่มเรตินอล ที่ดีที่สุดที่เรามี

ณ ขณะนี้ อีกทั้งยังมี เรตินอยด์(Retinoids) และเรตินิล(Retinols) ใน สควาเลน(Squalane) ผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ของ The Ordinary’s แต่เนื่องจากบางคน ไม่สามารถรับสารสควาเลนได้ ดังนั้น การลองเสี่ยงที่ดีที่สุดของพวกเขาน่าจะเป็นการลองใช้ สูตรของผลิตภัณฑ์ Shani หรือการลบ Retin+ ของ CyberDerm เพื่อลดอาการเสี่ยงของอาการแพ้ โดยเฉพาะคนที่มีปัญหาผิวหน้าแห้ง

ดังนั้นแล้ว ส่วนผสมต่าง ๆที่ได้กล่าวมาทั้งหมดนี้ อาจจะไม่ได้เป็นทางการมากนัก เพราะสิ่งต่าง ๆ เปลี่ยนไปตามการคิดค้นใหม่ ๆหรือมีข้อมูลใหม่ ๆ ที่สามารถนำมาใช้งานได้จริง ทางเราได้รับจดหมายทางอีเมล์เป็นจำนวนมาก ได้ถามว่า “ทำไมคุณถึงแนะนำ……..ในเมื่อมันมี……..?” เนื่องจากเราไม่ใช่คนเจ้าระเบียบสักเท่าไหร่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกรณีที่มีตัวแปรต่าง ๆที่ต้องคอยพิจารณาอยู่เสมอ อย่างเช่น

      • ความใส่ใจในการดูแลผิวของคุณ
      • สิ่งที่ผิวของคุณสามารถทนได้
      • สิ่งที่คุณสามารถจ่ายได้
      • ไม่ว่ามันจะเป็นอย่างอื่นในตลาดก็ตาม
      • สิ่งที่ง่ายที่สุดที่คุณจะหามาได้
      • ในส่วนผสมนั้นมีปัญหามากแค่ไหน

งานของเรา คือ ให้ทางเลือกแก่คุณ สิ่งที่เราได้ถามคุณไปทั้งหมดนั้นก็เพื่อให้คุณได้ตัดสินใจ


วิธีตรวจส่วนผสมครีม

สรุปวิธีตรวจส่วนผสมผลิตภัณฑ์บำรุงผิว ครีม และผลิตภัณฑ์เสริมความงาม

เราหวังว่าบทความนี้จะทำให้คุณเข้าใจเรื่องส่วนผสมได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าคุณจะไปช้อปปิ๊งเพื่อซื้ออะไรใหม่ๆ หรือไปดูผลิตภัณฑ์ที่คุณแอบเก็บไว้ มันก็ดีนะ ถ้าคุณติดนิสัยในการฉตรวจสอบฉลากก่อนนำมาใช้

จากนั้น เมื่อคุณสำรวจสิ่งต่าง ๆเสร็จแล้ว และจำเป็นต้องเปลี่ยนผลิตภัณฑ์เหล่านั้น เราอยากให้คุณลองเลือกสิ่งที่ดีต่อสุขภาพ(เช่น ในสุขภาพผิว) ซึ่งที่เราอยากจะบอกก็คือ เราทุกคนสามารถชื่นชมในการตลาดที่ทำให้เราหลงไหลไปกับผลิตภัณฑ์ได้ แต่ไม่มีอะไรที่สามารถนำคุณกลับไปสู่ความจริงได้เร็วกว่าการที่ได้รู้ว่า มันคือ ปีโตรเคมีเก่าที่ราคาสูงเกินไปเช่นกัน

Picture of Patcharapa Seridumrong

Patcharapa Seridumrong

My name is Patcharapa and I grew up with family of 3. I have obsessive passion in beauty stuff. I also love writing blog and do research about new thing in the beauty world. Now i'm a full time researcher and writer for a website www.patcharapa.com.
Picture of Patcharapa Seridumrong

Patcharapa Seridumrong

My name is Patcharapa and I grew up with family of 3. I have obsessive passion in beauty stuff. I also love writing blog and do research about new thing in the beauty world. Now i'm a full time researcher and writer for a website www.patcharapa.com.